HPC Ignite
ระบบนิเวศสำหรับการพัฒนากำลังคนทักษะเชี่ยวชาญด้านการคำนวณสมรรถนะสูงเพื่อเสริมความพร้อมรับความท้าทายท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นนำ
(Ecosystem for Developing High-Performance Computing Talents to Boost Preparedness for Local Challenges Through Cutting-Edge Technological Innovation)

วิสัยทัศน์
กำลังการคำนวณขั้นสูงของ HPC คืออนาคต และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งมั่นที่จะนำประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลก

เกี่ยวกับโครงการ

โครงการระบบนิเวศสำหรับการพัฒนากำลังคนเชี่ยวชาญด้านการคำนวณสมรรถนะสูง เพื่อเสริมความพร้อมรับความท้าทายท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นนำ ได้รับทุนวิจัยและนวัตกรรม แผนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน เพื่อนำความสามารถและทักษะที่ได้รับนั้น สามารถรับมือกับปัญหาในท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาของท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่

แผนการดำเนินงาน

ในส่วนแผนการดำเนินงาน จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลัก ได้แก่ จัดเตรียมและสร้างเครือข่าย, สำรวจ พัฒนาหลักสูตรและระบบนิเวศ, จัดการอบรมและจัดทีมแข่งขัน, ประเมิน ติดตามและสนับสนุน และส่วนสุดท้ายจัดกิจกรรมการแข่งขันที่สามารถนำ HPC ไปใช้ในการแก้ปัญหาท้องถิ่นได้

การพัฒนาระบบนิเวศด้านการคำนวณสมรรถนะสูง (HPC)

โครงการระบบนิเวศสำหรับการพัฒนากำลังคนเชี่ยวชาญด้านการคำนวณสมรรถนะสูง ได้นำเทคโนโลยีของเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์เข้ามาแก้ปัญหาของท้องถิ่น โดยการทำงานจะถูกแบ่งออกเป็น HPC และ AI อธิบายแบบง่ายๆ นั่นคือ HPC จะถูกใช้ในงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การจำลองโมเลกุล การจำลองอนุภาค หรือการทำ Agent-based Simulations หรือการจำลองตัวแทนในการทดลองกับสถานการณ์บางอย่างที่ไม่สามารถทดลองบนโลกจริงได้ การทำงานของ HPC ที่เราพบกันได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน นั่นคือ การทำนายสภาพภูมิอากาศ ส่วนการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะทำงานทางด้าน Machine Learning และ Large Language Model (LLM) หรือโมเดลภาษาขนาดใหญ่ เช่น ChatGPT หรือ LLama 2
โดยในที่นี้จะใช้เครื่อง LANTA ซึ่งเป็นเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของประเทศไทย โดยอยู่ภายในการดูแลของ ThaiSC (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LANTA Supercomputer)

ข้อมูลทั่วไปของเครื่อง LANTA

คุณลักษณะสำคัญของโครงการ

การยอมรับในระดับชาติ

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของ HPC ในการพัฒนาประเทศ

ผลกระทบโดยตรงสู่ท้องถิ่น

มีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วม 300 คนขึ้นไปเพื่อเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการแข่งขัน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี HPC ในทางปฏิบัติ ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมในภูมิภาค

พลังความร่วมมือระดับนานาชาติ

เปิดโอกาสให้ได้พบกับผู้เชี่ยวชาญทาง HPC ชั้นนำจากทั่วโลก เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้รับประสบการณ์

ผลงานที่ผ่านมาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

ตัวอย่างโจทย์จากการแข่งขัน APAC HPC-AI Competition 2023 (โจทย์ฝั่ง AI)


ตัวอย่างโจทย์จากการแข่งขัน APAC HPC-AI Competition 2024 (โจทย์ฝั่ง HPC)


Scroll to Top